สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  1. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

    ส่วนสกัดเอทิลอะซีเตท และบิวทานอลจากใบ ซึ่งมีฟลาโวนอยด์เป็นองค์ประกอบหลักมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เมื่อทดลองโดยใช้ human blood peroxidase model (2)

  2. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

    ส่วนสกัดเอทิลอะซีเตท และบิวทานอลจากใบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย 10 ชนิด โดยเฉพาะส่วนสกัดเอทิลอะซีเตทจะมีฤทธิ์แรงต่อเชื้อ Salmonella typhi 158, Shigella flexneri และ E.coli (2)

  3. ฤทธิ์ต้านเชื้อรา

    ส่วนสกัดเอทิลอะซีเตท และบิวทานอลจากใบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา Candida albicans และ C. stellatoides (2)

  4. ผลต่อสัตว์

    มีการศึกษาผลของฮว่านง็อกที่มีผลต่อการเจริญเติบโต และแก้ท้องเสียในลูกสุกรเล็ก โดยแบ่งออกเป็น 3 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ทดลองในลูกสุกรที่ยังไม่ได้หย่านม โดยให้กินใบสดขนาด 1 ก./กก./วัน เป็นเวลา 30 วัน การทดลองที่ 2 ทดลองในลูกสุกรที่ไม่ได้หย่านม โดยให้กินใบสดขนาด 0.5 ก./กก./วัน และผงใบแห้ง ขนาด 0.1 และ 0.2 ก./กก./วัน เป็นเวลา 30 วัน และการทดลองที่ 3 ทดลองในลูกสุกรที่หย่านมแล้ว โดยให้กินใบสด ขนาด 0.5 ก./กก./วัน และผงใบแห้งขนาด 0.1 และ 0.2 ก./กก./วัน นาน 30  วัน  พบว่าในการทดลองที่ 1 ลูกสุกรที่กินใบฮว่านง็อก จะมีน้ำหนักตัวมากกว่ากลุ่มควบคุม จำนวนเม็ดเลือดแดง packed cell  และฮีโมโกลบินสูงกว่า ไม่พบการตายและอาการท้องเสีย เช่นเดียวกับการทดลองที่ 2 และ 3 ลูกสุกรที่กินใบฮว่านง็อก จะมีน้ำหนักตัว จำนวนเม็ดเลือดแดง packed cell และฮีโมโกลบินมากกว่ากลุ่มควบคุม ลูกสุกรมีอาการท้องเสีย และตายน้อยกว่า โดยผงแห้งที่ขนาด 0.2 ก./กก. จะให้ผลดีที่สุดต่อการเจริญเติบโตและแก้ท้องเสียในลูกสุกรเล็ก (4)

          การทดลองเปรียบเทียบผลของฮว่านง็อกกับยาปฏิชีวนะ Coli-norgent (ประกอบด้วย Colistine sulfate 125,000,000 UI, Norfloxacin 2,000 มก., Gentamicin  sulfate 1,000 มก., Trimethoprim 1,000 มก., excipient q.s. 100 ก.) ในการรักษาอาการท้องเสียในลูกสุกร โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่กินผงใบฮว่านง็อกแห้ง ขนาด 1 ก./กก. กลุ่มที่ได้รับยา Coli-norgent และ Cotrimxazol ขนาด 0.1 ก./กก. วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน พบว่าฮว่านง็อกให้ผลดีเทียบเท่ายาปฏิชีวนะทั้ง 2 ชนิด  ดังนั้นจึงสามารถใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะในการรักษาอาการท้องเสียในลูกสุกรได้ (5)

  5. พิษต่อเซลล์

    สารสกัดเมทานอลจากใบ เป็นพิษอย่างอ่อนต่อเซลล์มะเร็ง B16 melanoma โดยมีค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ครึ่งหนึ่ง (GI50) คือ มากกว่า 100 มคก./มล. (6)

  6. ยับยั้งการสร้างหลอดเลือด

    สารสกัดเมทานอลจากใบ ความเข้มข้น 100 มคก./มล. มีฤทธิ์อย่างอ่อน (น้อยกว่า 25%)ในการยับยั้งการสร้างหลอดเลือดในเซลล์ human umbilical venous (6)

 

บทสรุป

แม้ว่าในตอนนี้จะมีการนำฮว่านง็อกมาเผยแพร่และใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ มากมายในบ้านเรา แต่จะเห็นว่าข้อมูลรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนการใช้นั้นยังมีการศึกษาน้อย ส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยในเวียดนาม รวมทั้งยังขาดข้อมูลการศึกษาทางคลินิกในคนขนาดที่เหมาะสมในการใช้ และความเป็นพิษ ดังนั้นประชาชนควรพิจารณา และมีความระมัดระวังในการใช้พืชดังกล่าว

เอกสารอ้างอิงของฮว่านง็อก (Hoan-Ngoc) สมุนไพรในกระแส

  1. Dieu HK, Loc CB, Yamasaki S, Hirata Y.  The rthnobotanical and botanical study on Pseuderanthemum palatiferum as a new medicinal plant in the Mekhong delta of Vietnam. JARQ 2005;39(3):191-6.
  2. Giang PM.  Study on anti-oxidative activities and preliminary investigation on antibacterial, antifungal of extracted fraction rich in flavonoids from leaves of Pseuderanthemum palatiferum (Nees) Radlk. Available from www.english.vista.gov.vn. Access on 20/2/2008.
  3. Hung NV, Tuan LA, Chien NQ. Study on chemical constituents of Pseuderanthemum palatiferum (Nees) Radlk. Available from www.english.vista.gov.vn. Access on 20/2/2008.
  4. Dieu HK, Loc CB, Yamasaki S, Hirata Y. The effects of Pseuderanthemum, a new medicinal plant, on growth performances and diarrhea of piglets. JARQ 2006;40(1):85-91.
  5. Dieu HK and Hoa TV. Efficacy of Pseuderanthemum palatiferum powder against diarrhea of piglets. Available from www.ctu.edu.vn/institutes/mdi/jircas/JIRCAS/research/workshop/pro03/C12-Livestock%2012%20(Ms.%20Dieu).pdf. Access on 20/2/2008.
  6. Nam N-H,Kim H-M,Bae K-H,Ahn B-Z. Inhibitory effects of Vietnamese medicinal plants on tube-like formation of human umbilical venous cells. Phytother Res 2003;17:107-11.

Tags : คุณสมบัติของฮว่านง็อก

view