ฮว่านง็อก ( Hoan – Ngoc )
สมุนไพรในกระแส
ถ้าเอ่ยชื่อสมุนไพรที่มีผู้ถามถึงมากในขณะนี้ คงจะหนีไม่พ้น “ฮว่านง็อก" หรือที่คนไทยเรียกว่า “พญาวานร” มีการกล่าวอ้างและนำมาใช้รักษาโรคต่างๆ มากมาย จริง ๆ แล้วฮว่านง็อกไม่ใช่พืชไทย แต่มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเวียดนาม เป็นพืชสมุนไพรใหม่ถูกค้นพบในป่าแถบเวียดนามเหนือเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1990 ต่อมาได้มีการปลูกขยายพันธุ์ ใช้เป็นพืชสมุนไพรและไม้ประดับกระจายไปทั่วประเทศ ฮว่านง็อกถูกนำเข้ามาในไทย โดยกลุ่มทหารผ่านศึกสมัยสงครามเวียดนาม เมื่อแรกเริ่มมีราคาสูงมาก ขนาดนับใบขายเลยทีเดียว แต่ปัจจุบันมีราคาถูกลงเนื่องจากสามารถเพาะพันธุ์ได้ในบ้านเรา
ฮว่านง็อก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Pseuderanthemum palatiferum (Nees) Radlk. อยู่ในวงศ์ Acanthacea ชื่อพ้อง คือ Eranthemum palatiferum Nees เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-
การขยายพันธุ์ สามารถขยายพันธุ์ด้วยการตัดยอดปักชำลงดินก็เกิดราก ตั้งตัวได้เร็วย้ายลงปลูกในกระถาง ใส่ปุ๋ย พรวนดิน รดน้ำ ก็จะเจริญงอกงาม
สรรพคุณพื้นบ้าน
ในเวียดนามจะใช้ใบในการรักษาโรคต่างๆ ในคน ได้แก่ ความดันโลหิต ท้องเสีย ไขข้ออักเสบ คออักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ เนื้องอก ลำไส้อักเสบ ตกเลือด รักษาแผล ท้องผูก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำมาใช้ในการรักษาและป้องกันโรคในสัตว์เลี้ยง ได้แก่ แก้ท้องเสียในสุกร และสุนัข รักษาแผล และอหิวาห์ในไก่และเป็ด เป็นต้น
ในใบของฮว่านง็อก ประกอบด้วยสารอาหารต่างๆ ได้แก่ โปรตีน (ซึ่งพบในปริมาณ 30.8% ของน้ำหนักแห้ง) กรดอะมิโน ได้แก่ ไลซีน เมทไทโอนีน และทรีโอนีน และเกลือแร่ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก และทองแดง
องค์ประกอบทางเคมี
จากการศึกษาพบว่าในใบ ประกอบด้วย Flavonoids, -sitosterol, phytol, 3-0-( -D-glucopyranosyl)-sitosterol, สารผสมระหว่าง stigmasterol และ poriferasterol, n-pentacosan-1-ol และสารผสมระหว่าง kaempferol-3-methyl ether-7-0- -glucoside และ apigenin-7-0- -glucoside, 1-triacontanol, salicylic acid, glycerol 1-hexadecanoate, palmitic acid และ pseuderantin ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน