Pseuderanthemum palatiferum (Nees Radlk เรียก P.palatiferum เพื่อให้ง่ายต่อการกล่าวถึง) ซึ่งอยู่ในวงศ์ Acanthacea ถูกค้นพบในช่วงปลายปี ค.ศ. 1990 ในป่า Cuc Phuong ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ถือเป็นพืชชนิดใหม่ที่ใช้ในทางการรักษาโรค เนื่องจากไม่ปรากฏใน NAPRALERT (1995) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลพืชที่ใช้ในทางการแพทย์ทั่วโลกของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา หลังจากที่พืชชนิดนี้ถูกค้นพบ พืชชนิดนี้ได้รับการปลูกอย่างกว้างขวางในประเทศเวียดนาม พืชชนิดนี้เป็นทั้งไม้ประดับ และพืชที่ใช้ในการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งได้รับการยืนยันว่าสามารถรักษาโรคและอาการในคนได้หลายอย่าง เช่น บาดแผล เนื้องอก ปวดท้อง ความดันโลหิต ท้องเสีย เป็นต้น จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นพืชมหัศจรรย์ มีการศึกษาและวิจัยทางพฤกษศาสตร์ เคมี และชีววิทยาของพืชชนิดนี้ ในทางตอนเหนือของเวียดนาม โดยได้รับการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ และได้รับการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมี (ตารางที่ 1) และสารประกอบอย่าง β-sitosterol ที่ได้รับการสกัดแยกจากใบและทำให้บริสุทธิ์นั้น มีฤทธิ์ต้านทานแบคทีเรียและรา
เนื่องจากทางตอนใต้ของเวียดนามมีการปลูกพืชชนิดนี้เพียงช่วงสั้น ๆ และมีการศึกษาข้อมูลน้อย ทำให้มีข้อมูลทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและพฤกษศาสตร์ของพืชชนิดนี้ไม่เพียงพอ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงได้มีการเก็บข้อมูลของการปลูกพืชชนิดนี้ และการนำไปใช้ในแต่ละบ้านตามสภาพความเป็นจริง รวมถึงลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (39,635 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งเป็นบริเวณตอนใต้สุดของประเทศเวียดนาม ดังนั้นที่มาของการแพร่หลาย การใช้ประโยชน์จากพืชชนิดนี้ในฐานะพืชที่ใช้รักษาทางการแพทย์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพฤกษศาสตร์จึงถูกนำมาพิจารณาในงานวิจัยนี้
ตาราง 1. องค์ประกอบทางเคมีของฮว่านง็อก (Pseuderanthemum palatiferum)
สารแห้ง (%) |
13.4 |
ค่าโปรตีนโดยประมาณ (% สารแห้ง) |
30.8 |
แร่ธาตุ (มิลลิกรัม/ใบสด แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดง โพแทสเซียม โซเดียม อะลูมิเนียม วาเนเดียม แมงกานีส นิกเกืล
|
875.5 837.6 38.8 0.43 587.5 162.7 37.50 3.75 0.34 0.19 |
กรดอะมิโน (มิลลิกรัม/ใบสด ไลซีน เมทไทโอนีน ทรีโอนีน |
30.6 29.7 61.0 |
พบว่าในใบของ Pseuderanthemum palatiferum (Nees) Radlk (วงศ์ Acanthaceae) ประกอบด้วย J3-sitosterol, phytol, 3-O-(J3-D-glucopyranosyl)-sitosterol เป็นของผสม epimeric ระหว่าง stigmasterol และ poriferasterol n-pentacosan-l-01 กับส่วนผสมของ kaempferol3-methyl ether 7O-J3-glucoside และ apigenin 7-0-J3-glucoside [4, 5]. ซึ่งเรายังมีรายงานเพิ่มเติมในการแยกและอธิบายโครงสร้างของสารประกอบอื่นเพิ่มเติมเข้ามา ได้แก่ I-triacontanol(1) salicylic acid(4) glycerol 1 hexadecanoate (2) palmitic acid (3) เป็นต้น โดยใช้วิธี IR, MS, 1H-NMR IR, MS, 1H-NMR และ I3C-NMR spectroscopy ในการศึกษาตรวจสอบโครงสร้างของสารประกอบเหล่านี้ ซึ่งในประเทศเวียดนามนั้น ใบของ Pseuderanthemum palatiferum (Nees) Radlk. เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านใช้ในการรักษาอาการอักเสบและอาการย่อยที่ผิดปกติ
พืชตัวอย่างและวิธีการ
1.การศึกษาทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
เมืองคานโธ (141 ตารางกิโลเมตร) เป็นศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ และสังคมเศรษฐกิจ ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เมืองนี้มีตำบลและหมู่บ้านทั้งหมดสิบห้าแห่ง งานวิจัยนี้เริ่มในปี 2001 โดยเริ่มที่ตำบลสามแห่งและหมู่บ้านหนึ่งแห่ง ตำบล Xuan Khanh (2.1 ตารางกิโลเมตร) และตำบล Hung Loi (3.4 ตารางกิโลเมตร ) ตั้งอยู่ในบริเวณศูนย์กลางและบริเวณใกล้ศูนย์กลางของเมืองตามลำดับ ส่วนตำบล Hung Phu ward (7.5 ตารางกิโลเมตร )และหมู่บ้าน An Binh village (11.9 ตารางกิโลเมตร) ตั้งอยู่ในเขตนอกเมือง ทุกบ้านในพื้นที่ที่ทำการวิจัย จำนวน 12,829 หลัง ถูกเยี่ยมชมและสอบถามว่าได้ปลูกพืชชนิดนี้หรือไม่ โดยเน้นเกี่ยวกับการปลูกและการนำพืช P. palatiferum ไปใช้รักษา อย่างเช่น จำนวนพืชและและอายุของพืชชนิดนี้ วัตถุประสงค์ของการปลูกเพื่อนำไปใช้ ปริมาณและขนาดของการรักษา การป้องกันไม่ไห้ทั้งคนและสัตว์ป่วย โดยซักถามผ่านการสัมภาษณ์พร้อมกับแบบสอบถาม
2.การศึกษาทางพฤกษศาสตร์
กิ่งอ่อนของ P. palatiferum ที่มีความยาว 8-
3.การวิเคราะห์ทางสถิติ
วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม Minitab Statistical Software version 13 ใช้ chi-square test เพื่อทดสอบสมมุติฐานที่เกี่ยวข้องกับความถี่ของการกระจายตัวของจำนวนประชากรมากกว่าหนึ่งกลุ่ม ค่าเฉลี่ยที่ได้ถูกนำมาวิเคราะห์โดยใช้ ANOVA using General Linear Model โดยมี Sources of variation คือ ระดับของต่างๆ ของแต่ละปัจจัย และใช้ Tukey's test เพื่อเปรียบเทียบ แยกค่าเฉลี่ยออกเมื่อมีค่าความแตกต่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 1 %
ผลการทดลอง
1. การศึกษาทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
ความถี่ของการปลูกพืชในบ้านที่ทำการสอบถามทุกหลังมีค่าต่ำมากที่ 1.1% (ตารางที่ 2) อย่างไรก็ตาม ค่าความแตกต่างนั้นพบที่ความถี่ของสถานที่ ซึ่งค่าสูงที่สุดพบที่ Xuan Khanh (2.7% ของบ้านในพื้นที่) รองลงมาคือ Hung Loi (1.1%) และค่าต่ำที่สุด คือ An Binh (0.1%) และ Hung Phu (0.1%) (p< 0.01) จำนวนพืชที่พบต่อบ้านหนึ่งหลังคือ 1-2 ต้น (67.4% ของบ้านที่สอบถามปลูกพืชชนิดนี้ 1-2 ต้น) จำนวนพืชที่ปลูกของบ้านที่อยู่ในเมืองกับบ้านที่อยู่นอกเมืองมีความแตกต่างกัน ซึ่งในเมืองมีการปลูกพืชมากกว่า 8.8% ของ Xuan Khanh และ 5.3% บ้านใน Hung Loi มีการปลูกพืช 6-10 ต้น ตามลำดับ 1.1% และ 5.3% ของบ้านใน Xuan Khanh และ Hung Loi ปลูกพืชชนิดนี้ 11-30 ต้น มีเพียงบ้านใน An Binh และ Hung Phu เท่านั้นที่ปลูก 1-5ต้น อายุของต้นพืชที่นำมาปลูก จะมีอายุน้อยกว่า 36 เดือน บ้านทุกหลังที่อยู่นอกเมืองและ 80.8% จำนวนบ้านทุกหลังที่สอบถาม ปลูกต้นที่มีอายุน้อยกว่า 11 เดือน 15.4% ของบ้านใน Xuan Khanh และ 21.1% ใน Hung Loi ปลูกต้นพืชที่มีอายุ 12-23 เดือน และปลูกต้นพืชที่มีอายุมากว่า 23 เดือนเป็นจำนวน 3.3% และ 2.6% ตามลำดับ
ใบสดถูกนำมาใช้รักษาในขนานต่างๆ แล้วแต่กรณี แต่สำหรับส่วนอื่นๆ ของต้นนั้นไม่นิยมนำมาใช้ ซึ่งทุกพื้นที่นั้นนิยมนำใบมาใช้ในการรักษา (p < 0.01) (คิดเป็น 65.9% ของบ้านทุกหลังที่ปลูกพืชชนิดนี้) มากกว่านำมาใช้เพื่อป้องกันโรค (21.5%) (ตารางที่ 3) สำหรับการป้องกันโรคนั้นจำนวนใบที่ใช้ต่อวันอยู่ที่ 3-6 ใบ(51.7% ของบ้านที่รับประทานใบเพื่อใช้ในการป้องกันโรค) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นที่นิยมมากกว่า 7-9ใบ (38.0%) และมากกว่า 9 ใบ (10.3%)
หรืออีกนัยหนึ่งจำนวนใบ 7-9 ต่อวันนั้น ใช้สำหรับการรักษา (80.9% ของบ้านที่ใช้ใบในการรักษา) ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p< 0.01) มากว่าบ้านที่ใช้ใบในจำนวนอื่น และผลวิจัยของบ้านที่อยู่ในเมืองสอดคล้องกับผลวิจัยรวมดังที่กล่าวมา บ้านที่อยู่ในเขตนอกเมืองไม่ใช้ใบในการป้องกันโรค และคนที่อาศัยในตำบล Hung Phu ไม่ใช้ใบ ทั้งในการรักษาและป้องกันโรค บ้านทุกหลังในหมู่บ้าน An Binh ไม่ใช้ใบเกิน 9 ใบในการรักษา 66.7% ของบ้านที่ใช้ใบในการรักษาใช้ใบจำนวน 7-9 ใบในการรักษา ส่วน 33.7% ใช้ใบน้อยกว่า 6 ใบ อย่างไรก็ตามจำนวนซ้ำที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีเพียง 3 ซ้ำ
ใบของ P. palatiferum ใช้ทั้งในการรักษาและป้องกันโรคในคนทั้ง 25 โรค ได้แก่ ความดันโลหิต ท้องเสีย โรคข้ออักเสบ คออักเสบ และอื่นๆ (ตารางที่ 4) ระยะเวลาในการรับประทานจะแตกต่างกันไปตามชนิดโรค ซึ่งอาจจะรับประทานเพียงวันเดียว หรือต้องรับประทานทุกวัน อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาของบ้านที่ทำการวิจัยนั้นเท่ากัน แม้ว่าจะไม่ใช่โรคเดียวกัน
ความถี่ของการใช้ใบในการรักษาและป้องกันโรคให้สัตว์นั้นต่ำมาก ( 7.4% และ 3.7% ตามลำดับ) ในบ้านที่ปลูกพืชชนิดนี้ และต่ำกว่าของคน (ตารางที่ 5) หรืออาจกล่าวได้ว่านิยมใช้ใบในการรักษาคน มากกว่าจะใช้ในการป้องกันโรคให้สัตว์ ซึ่งผลวิจัยนี้เหมือนของในคน และบ้านที่อยู่ในเมืองนิยมใช้ใบในการรักษาโรคให้สัตว์ อย่างเช่น เมื่อหมูท้องเสีย ไก่มีบาดแผล โรคอหิวาต์ และสุนัขถ่ายเป็นเลือด ในพื้นที่นอกเมือง มีบ้านเพียงสองหลังในหมู่บ้าน An Binh เท่านั้นที่ใช้พืชนี้รักษาอหิวาต์ในเป็ดและไก่ ซึ่งใช้ใบเพียง 1-3 ใบต่อวัน แล้วแต่กรณี ระยะเวลาที่นิยมใช้ในการรักษาคือ 2-3 วันเป็นส่วนมาก
2. การศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์
การเจริญเติบโตของ P. palatiferum ซึ่งแสดงดังตารางที่ 6 มี caulis ที่ยังเขียวอยู่ แต่ลำต้นเป็นสีน้ำตาลและมีการแตกกิ่งหลายกิ่ง ใบมีขนาดความยาว 12-17 เซนติเมตร ความกว้าง 3.5-5.0 เซนติเมตร หูใบมีความยาว 1.0-2.5 เซนติเมตร พืชโตเร็ว โดยสูงถึง 80-120 เซนติเมตร และมีใบ 700-1,000 ใบต่อต้น ผลผลิตใบมีน้ำหนักเท่ากับ 500-700 กิโลกรัมต่อพื้นที่ใบ 1,000 ตารางเมตร ที่ 135 วัน พืชโตเป็นพุ่ม มีขนาดความสูง 1-2 เมตร และเมื่อสิ้นสุดการทดสอบการออกดอกในเดือนเมษายน 2004 P. palatiferum ที่มีอายุ 3 ปี ได้ออกดอกครั้งแรก
ตาราง 2. ความถี่ของการปลูก Pseuderanthemum palatiferum, จำนวน และอายุของพืชที่ศึกษาในเมืองคานโอ ปี 2001
หมู่บ้าน |
พื่นที่(1) (ตารางกิโลเมตร) |
n (2) |
ความถี่ (3) |
จำนวนพืช (4) |
อายุพืช (เดือน) (4) |
||||||
1-2 |
3-5 |
6-10 |
11-30 |
<6 |
3-5 |
6-10 |
11< (5) |
||||
C.center: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Xuan - Khanh |
2.1 |
3,382 |
91 (2.7)* |
73.6 |
16.5 |
8.8 |
1.1 |
40.7 |
40.7 |
15.4 |
3.3 |
Hung Loi |
3.4 |
3,466 |
38 (1.1)** |
50 |
34.2 |
5.3 |
5.3 |
31.6 |
44.7 |
21.1 |
2.6 |
Suburb: |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
An Binh |
11.9 |
3,054 |
4 (0.1)*** |
75 |
25 |
0 |
0 |
50 |
50 |
0 |
0 |
Hung Phu |
7.5 |
2,927 |
2 (0.1)*** |
100 |
0 |
0 |
0 |
100 |
0 |
0 |
0 |
Total |
24.9 |
12,829 |
135 (1.1) |
67.4 |
21.5 |
7.4 |
2.2 |
39.9 |
41.5 |
16.3 |
3.0 |
(1): Source; People Committee of Cantho city (2001).
(2): The number of the households in the studied wards and village. All of the households were studied.
(3): Number of the households that cultivated the plant (% of the households studied).
(4): % of the households with plant cultivation.
(5): No plant older than 36 months was cultivated.
Numbers within the same column with the different superscripts *, **, *** were significantly different at p< 0.01
Table 3. The percentage of the households that dosed Pseuderanthemum palatiferum leaves for prevention or treatment of human diseases and the amount of the dosage.
Wards/village |
n |
Frequency (1) |
Amount (leaves/day) (2) |
||
3-6 |
7-9 |
>9 |
|||
Prevention |
|
|
|
|
|
City center |
|
|
|
|
|
Xuan Khanh |
91 |
20 (22.0)** |
50.0 |
35.0 |
15.0 |
Hung Loi |
38 |
9 (23.7)*** |
55.6 |
44.4 |
0.0 |
Suburb |
|
|
|
|
|
An Binh |
4 |
0 (0.0)*** |
__ |
__ |
__ |
Hung Phu |
2 |
0 (0.0)*** |
__ |
__ |
__ |
Total |
|
29 (21.5) |
51.7 |
38 |
10.3 |
Treatment |
|
|
|
|
|
City center |
|
|
|
|
|
Xuan Khanh |
91 |
60 (65.9)* |
5.0 |
81.7 |
13.3 |
Hung Loi |
38 |
26 (68.4)** |
15.4 |
80.8 |
3.8 |
Suburb |
|
|
|
|
|
An Binh |
4 |
3 (75.0)*** |
33.3 |
66.7 |
0.0 |
Hung Phu |
2 |
0 (0.0)*** |
__ |
__ |
__ |
Total |
|
89 (65.9) |
9.0 |
80.9 |
10.1
|
Numbers within the same column with the different superscripts *, **, *** were significantly different at p< 0.01
(1): Number of the households that dosed the Pserderanthemum palatiferum leaves for prevention or treatment (% of households that cultivated the plant)
(2): % of the households that dosed the leaves for prevention or treatment in the households that cultivated the plant.
ตาราง 4. ชนิดของโรคที่ใบฮวานง็อกสามารถทั้งป้องกันและรักษาได้ รวมทั้งระยะเวลาของการใช้ปริมาณยา
ชื่อโรค |
ความถี่ (1) |
ระยะเวลาที่ใช้ยา (วัน) |
|||
1-3 |
4-30 |
>30 |
Continuous |
||
ความดันโลหิต |
42 |
|
|
|
X (2) |
โรคท้องร่วง |
38 |
X |
|
|
|
โรคข้ออักเสบ |
16 |
|
X |
|
|
คออักเสบ |
15 |
|
|
X |
|
กระเพาะอาหารอักเสบ |
12 |
|
|
X |
|
มะเร็งเต้านม |
8 |
|
|
X |
|
อาการลำไส้ใหญ่บวม |
7 |
|
|
X |
|
เลิอดออกง่าย |
5 |
X |
|
|
|
เป็นแผล |
4 |
X |
|
|
|
ท้องผูก |
3 |
X |
|
|
|
Ischidic nerve |
2 |
|
|
X |
|
Buccoglossopharyngitis |
2 |
X |
|
|
|
เป็นไช้ |
2 |
X |
|
|
|
มะเร็งลำไส้ใหญ่ |
2 |
|
|
X |
|
Dento-alveolitis |
2 |
X |
|
|
|
Hemorrohoids |
2 |
|
X |
|
|
การอักเสบของหัวนมและเต้านม |
1 |
X |
|
|
|
Serum hepatitis |
1 |
|
|
|
X |
โรคเยื่อจมูกอักเสบ |
1 |
|
X |
|
|
Heart muscle anemia |
1 |
|
X |
|
|
โรคบิด |
1 |
X |
|
|
|
Gynecopathy |
1 |
|
|
|
X |
โรคไขข้ออักเสบ |
1 |
|
|
|
X |
ภาวะไตอักเสบรุนแรง |
1 |
|
|
|
X |
Encephalomalacia |
1 |
|
|
|
X |
(1): จำนวนบ้านที่ปลูกและใช้ใบฮวานง็อกในการป้องกันหรือรักษาโรค หรือทั้งป้องกันและรักษาโรค
(2): .ใบฮวานง็อกที่ถูกใช้.
Table 5. Application of Pseuderanthemum palatiferum leaves for treatment or prevention of animal diseases.
Wards/village |
n |
Frequency (1) |
Recipients |
Disease |
Dose (leave/day) |
Duration (day) |
|
2-3 |
Continuous |
||||||
Prevention |
|
|
|
|
|
|
|
City center |
|
|
|
|
|
|
|
Xuan Khanh |
91 |
2 (2.2) 1 (1.1) |
Pig Dog |
Diarrhea Diarrhea |
1 1 |
X |
X (2) |
Hung Loi |
38 |
2 (5.3) |
Chicken |
Diseases (3) |
1-2 |
|
X |
Suburb |
|
|
|
|
|
|
|
An Binh |
4 |
0 (0.0) |
__ |
__ |
|
|
|
Hung Phu |
2 |
0 (0.0) |
__ |
__ |
|
|
|
Total |
135 |
5 (3.7) |
|
|
|
|
|
Treatment |
|
|
|
|
|
|
|
City center |
|
|
|
|
|
|
|
Xuan Khanh |
91 |
2 (2.2) 1 (1.1) 1 (1.1) |
Pig Dog Chicken |
Diarrhea Blood diarrhea Wound |
2 2 1-3 |
X X X |
|
Hung Loi |
38 |
1 (2.6) 2 (5.3) 1 (2.6) |
Pig Chicken Chicken |
Diarrhea Fowl cholera Wound |
2 1-3 1-3 |
X X X |
|
Suburb |
|
|
|
|
|
|
|
An Binh |
4 |
1 (25) 1 (25) |
Chicken Duck |
Fowl cholera Fowl cholera |
1-3 2 |
X X |
|
Hung Phu |
2 |
0 (0.0) |
__ |
__ |
|
|
|
Total |
135 |
10 (7.4) |
__ |
__ |
|
|
|
(1): The number of the households that dosed the Pserderanthemum palatiferum leaves for preventing or treating animal diseases (% of the households that cultivated the plant).
(2): Pseuderanthemum palatiferum leaves were dosed.
(3): The information didn’t make clear the name of the diseases.
ตาราง 6. การเติบโตของ Pseuderanthemum palatiferum (1)
|
Age (day) |
|||
0 |
14 |
44 |
134 |
|
No. of leaves |
3-5 (2) |
5-8 (2) |
100-200 (3) |
700-1,000 (3) |
Cauline height (cm) |
8-12 |
15-20 |
40-50 |
80-120 |
No. of axillary buds (pieces) |
__ |
__ |
> 15 |
__ |
Diameter of canopy (cm) |
__ |
__ |
30-40 |
70-100 |
Green yield (kg/1,000 m²) |
|
__ |
__ |
500-700 |
(1): The plants during age 0 and 15 day grew in pots. The plants at age 15 days were transplanted to the experimental farm of
(2): Pairs of opposite leaves.
(3): Leaves.
วิจารณ์
1.การศึกษาทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
บ้านที่อยู่ในเมืองปลูกพืชชนิดนี้มากกว่าและนานกว่า และใช้พืชทั้งในการรักษาและป้องกันโรคในมนุษย์ บ้านที่อยู่นอกเมืองใช้พืชเฉพาะในการรักษาเท่านั้น และปริมาณที่ใช้นั้นมากกว่าบ้านในเมือง ซึ่งผลดังกล่าวสามารถอธิบายได้สองอย่าง อย่างแรกคือ ความสะดวกในการรับข้อมูลข่าวสารและข่าวลือในเมืองน่าจะเร็วกว่าเมื่อเทียบกับนอกเมือง เนื่องจากพืชชนิดนี้เพิ่งเป็นที่รู้จัก ข่าวเกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของพืชชนิดนี้น่าจะเป็นที่ทราบกันในเมืองหลวงก่อน และต่อมาค่อยๆแพร่กระจายออกไปในเวลาเดียวกันกับนอกเมือง และอย่างที่สอง วัตถุประสงค์ของการใช้พืชชนิดนี้ในรักษาผู้ป่วยค่อยๆขยายออกไป จากเพียงแค่ใช้ในการรักษาก็เป็นการใช้เพื่อป้องกันโรค และจากคนก็นำไปใช้กับสัตว์ที่ป่วย ซึ่งจากการใช้ปริมาณใบน้อยๆในการรักษาเบื้องต้นหลังจากได้มีการค้นพบและนำมาใช้ตามบ้านเรือน ก็ได้กลายเป็นนำมาใช้รักษาโรคหลักๆในคน อย่างความดันโลหิตและท้องเสียซึ่งเป็นโรคที่พบได้ทั่วๆไปในมนุษย์ ผู้ที่ตรวจสอบการออกฤทธิ์ของพืชชนิดนี้ย่อมที่จะทราบข้อดีของมัน ในบางที่การนำพืชชนิดนี้มาใช้นั้นขึ้นอยู่กับกรณี ถ้าเป็นโรคที่ไม่รุนแรงก็จะใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าโรคที่มีอาการรุนแรง สำหรับในสัตว์นั้น ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับอาการที่แสดงออก
2.การศึกษาทางด้านพฤกษศาสตร์
พืชเจริญเติบโตง่ายและเร็วเท่าพืชในแถบเวียดนามตอนเหนือ 3 ส่วนพารามิเตอร์การเจริญเติบโต มีการเพิ่มของจำนวนใบแบบเอ็กซโพเนนเชียลซึ่งเป็นที่น่าสังเกต และจำนวนใบต่อต้นนั้นมีจำนวนถึง700-1,000 ใบ ที่ 135 วัน ซึ่งหมายความว่า มีการปลูกP. palatiferum หนึ่งต้นครั้งเดียวในช่วงสี่เดือน แสดงว่าจำนวนใบมีมากเกินพอสำหรับการใช้รับประทานในครอบครัว เนื่องจากความง่ายในการปลูก ทำให้การปลูกพืชชนิดนี้แพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ปลูกไม่เคยเห็นมันออกดอกเลย แม้ว่าบางคนจะปลูกมาแล้วถึง5 ปีก็ตาม อย่างไรก็ตามต้นพืชในงานวิจัยนี้ออกดอก จึงคาดว่าพืชที่ถูกเด็ดใบไปจะไม่ออกดอก แต่ค้นพืชเหมือนต้นที่วิจัยเป็น คือ ต้นที่ไม่ถูกเด็ดเป็นใบเวลา 6เดือนน่าจะออกดอกเหมือนทางตอนเหนือของเวียดนาม
สรุป
การนำP. palatiferum ไปใช้ในฐานะพืชที่ใช้ในการรักษา น่าจะแผ่ขยายจากในเมืองสู่นอกเมือง และจากใช้ในการรักษาก็นำมาสู่การใช้เพื่อป้องกันโรค และจากใช้ในการรักษาในคนก็มาประยุกต์ใช้ในสัตว์ที่เป็นโรค พืชชนิดนี้โตเร็วและออกดอกทางตอนใต้ของเวียดนามเช่นเดียวกับทางตอนเหนือเวียดนาม ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชชนิดนี้มีส่วนช่วยในการแพร่กระจายการปลูกได้อย่างรวดเร็ว
ปริมาณที่ใช้
นำใบสด(ผู้ชายใช้7ใบ และผู้หญิงใช้ 9ใบ) ทำความสะอาดใบอย่างเบามือ เคี้ยวพร้อมเกลือเล็กน้อยก่อนกลืน รับประทาน 2-3 ครั้งต่อวัน โดยขึ้นกับความหนักของอาการและอายุของผู้รับประทาน สังเกตและจดจำอาการหรือผลข้างเคียงหลังรับประทานไปแล้วประมาณ 1-2 วัน เพื่อปรับปริมาณและจำนวนครั้งในการรับประทานให้เหมาะสม รับประทานใบสดในช่วงเช้าเมื่อผุ้ป่วยรู้สึกหิว(โดยไม่รับประทานอะไรมาก่อน) และทิ้งช่วงห่างของรับประทานแต่ละครั้งประมาณ 60-90 นาที และเพื่อให้ได้ผลดีหลังรับประทานควรเหยียดยืดผ่อนคลาย หลับตา และทำใจให้ว่าง ประมาณ 15 นาที
ใช้ในการรักษาโรคและอาการ
- มะเร็ง(ระยะแรกและระยะที่สอง) รับประทานวันละ 2 ครั้งหรือมากกว่าตามอาการปวด ผู้ป่วยที่รับประทานเป็นประจำ จะเจริญอาหาร หลับสบาย และอาการปวดจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด
- โรคตับและไต
-Hepatitis หรือ Cirrhosis รับประทานวันละ 2 ครั้งเมื่อรู้สึกหิว โดยเฉพาะโรค Cirrhosis ให้นำใบแห้งที่ถูกบดละเอียดเป็นผงแล้ว ผสมกับผงโสมเทียมแห้งในอัตราส่วน 1:1
- Pernicious หรือchronic Nephritis รับประทานวันละ 2 ครั้ง หลังจากผ่านไปสิบห้าวัน อาการปวดจะหายไป
- 3.โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ระบบการย่อยไม่ดี ท้องเสีย ปวดท้อง Dysentery Flatulence
- โรคบางอย่างจำพวก Heamaturia, Nosebleed, Hemoptysis, Gastric Heamorrhage รับประทานวันละ 2-4 ครั้ง ให้ผลเช่นเดียวกับวิตามินเอ
- Cystitis และ Strangury รับประทานวันละ 2-3 ครั้ง
- Gastritis, Colotis, Haemorrhoids รับประทานต่อเนื่องเป็นเวลา 1 สัปดาห์ (ถ้าผู้ป่วยดื่มไวน์ จะทำให้อาการกลับมาอีกครั้ง)
- 7.ปวดฟัน Dental Caries, Gingivitis เคี้ยวพร้อมเกลือ อมไว้ในปากประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยกลืน
- 8.ไข้หวัดใหญ่ ปวดศีรษะ มีไข้สูง หลังจากมีไข้สูง ให้รับประทานใบทุก 2 ชั่วโมง
- 9.แผลปิด เคี้ยวใบและโปะบนแผล แผลเปิด ขยี้ใบแล้วโปะบนแผลทันที ทำให้เลือดหยุดไหล เคี้ยวใบและโปะบนแผล
สามารถใช้ใบของ P. palatiferum ในการต้านทานการอักเสบหรือเพิ่มความต้านทาน เนื่องจากพืชชนิดนี้ออกฤทธิ์คล้ายยาปฏิชีวนะ และวิตามินเค